วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ดอยแม่ตะมาน,หน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน


ดอยแม่ตะมาน ตั้งอยู่ในหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว และ บางส่วนของตำบล กึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยแม่ตะมานเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวมากขึ้นจากภาพ ดอกพญา เสือโคร่งซึ่งมีฉากหลัง เป็นดอยเชียงดาวดึงดูดใจ ให้นักเดินทางหลายต่อหลายคนเดินทางมาที่นี่ เพื่อมาทำความ รู้จักกับสถานที่สวยๆแห่งนี้มากขึ้น เมื่อมองจากยอด ดอยแม่ตะมาน ฝั่งตรงข้ามกันจะเห็นดอยหลวงเชียงดาวที่ ยิ่งใหญ่ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่เบื้องหน้าเหมือนภาพวาดที่เหมือนมีใครมาปั้นแต่งไว้ เป็นภาพทิวทัศน์ที่แปลกตาของ การชมดอกพญาเสือโครงในมุมทีไม่เหมือนใครสามารถมายืนอยู่ ในระดับความสูงที่ใกล้ เคียงกับดอยหลวง เชียงดาวที่มองเห็นไกลๆอยู่ตรงหน้า ดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่งจะผลิบานเต็มที่ช่วงปลายเดือนธันวาคม
ถึงกลางเดือนมกราคม การเดินทางค่อนข้างลำบาก เป็นทางลูกรังและเป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ เท่านั้น รถอื่นๆ ไม่สามารถขึ้นได้ เนื่องจากระยะทาง 21 กม. เป็นเส้นทางทางดินลูกรังและค่อนข้างชัน ซึ่งตลอด เส้นทางจะเห็นดอกพญาเสือโคร่งสีชมพูบานชูช่อสวยงามยิ่งนัก
ดอยแม่ตะมาน
บริเวณที่เราจะสามารถเห็นภาพของดอยหลวงเชียงดาว เรียกว่า สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ เป็นจุดที่นักท่อง เที่ยว นิยมมากางเต้นท์ เพื่อชมกับบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกที่สวยงามในยามเช้าอีกด้วย กลางคืน จะเห็นดาว เต็มท้องฟ้าและแสงระยิบระยับจากเมืองเชียงดาว ช่วยขับกล่อมให้เป็นค่ำคืนที่แสนหวานและน่าจดจำ ที่นี่เป็น สถานีทดลองของโครงการพัฒนาที่สูงไทย-ออสเตรเลีย ที่มอบให้อยู่ในความดูแลของคณะเกษตรศาสตร์ พืชเป็นแปลงทดลองปลูกพืชและผลไม้เมืองหนาว เช่น บ๊วย ท้อ พืชผักที่นี่เป็นสถานนีวิจัย รวมทั้งดอกฝิ่นสีสรร สวยงามดอกฝิ่นชูเชออยู่ให้เราเห็น และเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของ เทือกเขาดอยเชียงดาว
บรรยากาศบองสถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ ดอยแม่ตะมาน (ยามบ่าย)
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
บรรยากาศในยามเช้า
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
แปลงดอกไม้สีสรรสวยงาม
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
บนดอยแม่ตะมานยังมีอีก 1 จุด ที่สวยงามไม่แพ้กัน นั่นคือ บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ซึ่งอยู่จะอยู่ก่อน สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ  ห่างกันประมาณ 600 เมตร ที่นี่มีบ้านพักรับรอง 1 หลัง และจุดกางเต้นท์ด้วยและ ที่นี่เป็นจุดชมวิว พระอาทิตย์ตกที่สวยงามของดอยแม่ตะมาน
จุดชมพระอาทิตย์ตกหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
และหากใครอยากชมวิถีชวิตและเยี่ยมเด็กๆชาวเขาบนดอยแม่ตะมาน ที่โรงเรียนสันป่าเกี๊ยะ  สามารถนำหนังสือ ข้างของเครื่องใช้ไปแจกให้กับเด็กๆได้
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานดอยแม่ตะมาน
ดอยแม่ตะมานมีที่พัก 2 จุด คือ
1. บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน มีสถานที่กางเต้นท์ โดยต้องเตรียมเต้นท์และเครื่องนอนมาเอง(ไม่มีบริการให้เช่า) และบ้านพักรับรอง 1 หลัง สามารถพักได้ 10 คน
2. สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นจุดที่สามารถเพื่อชมทัศนียภาดอยเชียงดาวและดอยหลวงเชียงดาว มีสถานที่กางเต้นท์ ต้องเตรียมเต้นท์และ เครื่องนอนมาเอง(ไม่มีบริการให้เช่า) มีเรือนพักซึ่งปกติเป็นที่พักของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาฝึกงาน มีที่นอน หมอนและผ้าห่มให้

สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๋ยะ 053 944 052 ศูนย์วิจัยม.ช. หากต้องการกางเต้นท์สามารถ ขึ้นไป และติดต่อ ที่นั่นได้เลย เสียค่า บำรุงสถานที่คนละ 50บาท ต่อคืน ดอยแม่ตะมานมีน้ำและห้องน้ำ(รวม) ไว้คอยอำนวยความสะดวก ส่วนเรื่องอาหารและน้ำไม่มี ขายต้องนำ อาหารและอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาเอง ที่ประกอบอาหารได้ แต่ต้องนำอาหารขึ้นมาด้วย แวะซื้ออาหารได้ที่ ตลาดแม่มาลัย หรือตลาดเชียงดาว อย่าลืมเตรียมถุงดำเพื่อใส่ขยะกลับลงมา
1. รถยนต์ส่วนตัว
ใช้เส้นทาง 2 เส้นทางคือ
-  จากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) เลี้ยวซ้ายระหว่างหลัก กิโลเมตรที่ 67-68 เข้าตรงปากทางเข้าบ้านแม่นะ หน้าปากทางเขียนว่า วัดจอมคีรี ขับไปเรื่อย จะถึงเส้นทาง ออฟโรดผ่านทางลูกรัง และลาดชันกว่า 21กิโลเมตร ถึงที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ใช้เวลาในการเดิน ทางประมาณ 2.50 ชั่วโมง
- จากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง)เลี้ยวซ้ายระหว่างหลักกิโลเมตร ที่ 60-61 บ้านแก่งปันเต๊า ตำบลแม่นะ เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปสวนชาระมิงค์ ถึงที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำ แม่ตะมานระยะทางประมาณ 29กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
2. รถโดยสารสารธารณะ 
จากกรงุเทพ นั่งรถสายกรุงเทพ-เชียงดาว (ท่าตอน) ไปลงอำเภอเชียงดาว จากนั้นนัดรถโดยสารที่ติดต่อเช่า สำหรับ ขึ้นโดยแม่ตะมานให้มารับที่นี่ได้

สำหรับรถที่จะขึ้นไปดอยแม่ตะมาน ต้องเป็นกระบะ ที่มีกำลังขับเคลื่ิอนเท่านั้น รถเก๋ง รถตู้ ไม่สามารถขึ้นได้ ส่วนใหญ่จะจอดที่ปากทางขึ้นดอยแม่ตะมานบริเวณบ้านแม่นะ แล้วเหมารถกระบะขึ้นไป หากต้องการติดต่อรถเช่าโฟร์วิว ขึ้นดอยแม่ตะมาน ติดต่อ คุณโย โทร 086 191 6149 บริการรับส่งจากบ้านแม่นะ ถึงดอยแม่ตะมาน หรือจะให้ไปรับในอำเภอเชียงดาว หรือในตัวเมืองเชียงใหม่ ราคาที่ 2,000-3000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

ห้วยน้ำดัง เชียงใหม่
 อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแห ง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำ ลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศไปเที่ยวชมความงามเป็นจำนวนมาก 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ และได้จัดตั้งเป็น "อุทยานแห่งชาติห้วยนำดัง" เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2538 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81
ลักษณะภูมิประเทศ
   สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงที่สลับซับซ้อนทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้และอยู่ในแนวเดียวกันกับเทือกเขาเชียงดาว ภูเขาต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีความสูงชันตั้งแต่ 500-1,962 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยแม่เย็น ห้วยแม่ฮี้ ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง ห้วยน้ำดัง เป็นต้น รวมกันไหลลงสู่แม่น้ำปาย แม่น้ำปิง แม่น้ำแตง
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม 
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ จะมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 9 c 
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนเมษายน จะมีอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 c
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา มีพรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ตะเคียน ยาง จำปีป่า ยมหอม มะม่วงป่า ยมป่า เสลา ดงดำ แดง ประดู่ ตะแบก ตีนนก งิ้วป่า สนสองใบ ไม้ก่อต่าง ๆ เต็ง รัง เป็นต้น
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวาง หมี เก้ง เลียงผา หมูป่า เสือ ชะมด ลิง พังพอน เม่น ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกนานาชนิด ได้แก่ นกเปล้า นกแก้ว นกขุนทอง นกขมิ้น นกปรอท และ นกเหยี่ยว เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
 จุดชมวิวดอยช้าง อยู่บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร สามารถมองเห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาอันสลับซับซ้อน ทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่ได้ชัดเจน
 จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากในด้านการท่องเที่ยว ที่จะชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อคอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกอันกว้างใหญ่ไพศาลในช่วงฤดูหนาว สภาพธรรมชาติอันสวยงามของจุดชมวิวนี้เมื่อยืนอยู่ที่บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมองไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขาอันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวงเชียงดาวที่สูงที่สุดอยู่ใจกลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพของทะเลหมอกที่ สวยงาม ทางเข้าแยกจากถนนสายแม่มาลัย-ปายหลักกิโลเมตรที่ 65 - 66 เป็นทางลูกรังเข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร
 น้ำตกแม่เย็น เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยแม่เย็นหลวง ซึ่งจะไหลลงมาสู่แม่น้ำปายต่อไป สภาพน้ำตกเป็นน้ำตกขนาดใหญ่สูง มีน้ำไหลตลอดปี
 น้ำตกแม่ลาด ความสูงประมาณ 40-50 เมตร ตั้งอยู่ใน ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
 น้ำตกแม่หาด ความสูงประมาณ 40-50 เมตร มี 4 ชั้น ตั้งอยู่ใน ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
 น้ำตกห้วยน้ำดัง เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย ความสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากความสูง 3 - 4 ชั้น และสภาพโดยทั่ว ๆ ไปชุ่มชื้นไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น
 โป่งน้ำร้อนท่าปาย เป็นบ่อน้ำร้อนที่เปรียบเสมือนน้ำกำลังเดือดขึ้นเป็นพรายฟอง อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 80 องศาเซลเซียส น้ำร้อนจะไหลรวมกันเป็นธารน้ำร้อนขยายเป็นบริเวณกว้างมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 30 กม. ตั้งอยู่ใน ต.แม่ฮี้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
 โป่งน้ำร้อนโป่งเดือด น้ำพุร้อนขนาดใหญ่ จำนวน 3-4 บ่อ และยังมีบ่อเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป อุณหภูมิน้ำผิวดินประมาณ 90-99 องศาเซลเซียส น้ำพุร้อนจะพุ่งจากใต้ดินตลอดเวลา บางครั้งพุ่งสูงถึง 2 เมตร บริเวณนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด ระยะทาง 1,550 เมตร และโป่งเดือดยังเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวทัวร์ป่าที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง
 โป่งร้อน อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ท้องที่ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เส้นทางลูกรังเข้าไปโป่งร้อน โดยแยกเข้าทางบ้านแม่ปิง ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพ ธรรมชาติของโป่งร้อนเป็นบ่อน้ำร้อนที่น้ำกำลังเดือดเป็นฟองและมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อย ๆ ทั่วบริเวณกว้าง บ่อน้ำร้อนแห่งนี้มีบ่อใหญ่ 2 บ่อ นอกจากนี้ลักษณะเป็น น้ำผุดบางจุด ความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส รอบ ๆ โป่งร้อนเป็นไม้สักที่สมบูรณ์มาก
 ล่องแพลำน้ำแม่แตง สองฝั่งของลำน้ำแม่แตงยังคงอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และนกนานาชนิด จัดว่าเป็นสายน้ำที่มีบรรยากาศของการท่องเที่ยวที่ตื่นเต้นเร้าใจเต็มไปด้วยเกาะแก่งและ โขดหิน โดยเดินทางตามเส้นทางทัวร์ป่าจากน้ำพุร้อนโป่งเดือดจนถึงบ้านปางป่าคา (7กม.) หรือบ้านป่าข้าวหลาม (9 กม.) จากนั้นเริ่มล่องแพใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง จะถึงบ้านสบก๋ายซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการล่องแพ
บ้านพัก-บริการ บ้านพักทางการที่ตั้งในอุทยานฯ
การเดินทาง 
 รถยนต์ โดยเดินทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย (อำเภอแม่แตง) ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (สายแม่-มาลัยปาย) จนถึงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางแยกขวามือซึ่งมีป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าถึงบริเวณ ห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีกระยะประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมวิวดอยช้าง ถ้าเดินทางต่อไปอีกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 จากหลักกิโลเมตรที่ 66 ไปยังอำเภอแม่ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ถึงบ้านแม่ปิง จะมีทางแยกขวามือเป็นทางของ รพช. หมายเลข มส. 11024 ถึงโป่งร้อน อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง
สถานที่ติดต่อ 
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50300

วัดถ้ำเสือ


วัดถ้ำเสือ
วัดถ้ำเสือ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองกาญจน์มากนัก ถึงก่อนตัวเมืองกาญจน์ ห่างจากเขื่อนแม่กลอง 5 กิโลเมตร เมื่อเข้ามาถึงลานจอดรถหน้าศาลาหลังใหญ่จะมองเห็นจุดเด่นของวัดถ้ำเสือในมุมมองที่เป็นที่นิยมกันมากคือพระพุทธรูปลักษณะคล้ายพระพุทธชินราชองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ในซุ้ม ใกล้ๆ กับเจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท กับอุโบสถอัฏฐมุข (แปดเหลี่ยม) ส่วนศาลาเล็กๆ ที่เห็นอยู่ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งรูปเหมือนพระบูรพาจารย์ มีสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หลวงปู่ทวด ด้วย

สัตว์หิมพานต์วัดถ้ำเสือ
สัตว์หิมพานต์วัดถ้ำเสือ ตรงบันไดนาคที่เป็นทางเดินขึ้นบนเขาจะมีสัตว์หิมพานต์อยู่หลายตัว มีสีสันสวยงาม เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวก่อนที่จะเดินขึ้นบันไดไป หรือหากขึ้นบันไดไม่ไหว ก็มีรถรางบริการของทางวัดขนานกับบันไดขึ้นไป

ศาลาบูรพาจารย์
ศาลาบูรพาจารย์ ก่อนที่จะเริ่มเดินทางขึ้นบันไดไปบนเขาก็ต้องสักการะพระในศาลาแห่งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล

บันไดวัดถ้ำเสือ
บันไดวัดถ้ำเสือ เป็นทางเดินที่เราเลือกใช้แทนการขึ้นรถราง ระหว่างการเดินขึ้นบันไดที่นี่หมั่นมองไปข้างหลังจะได้เห็นวิวที่ค่อยๆ สูงขึ้นๆ เป็นวิวสวยๆ ตลอดทาง ไม่นานก็จะถึงขั้นบนสุด เมื่อมาถึงก็ต้องหาที่พักเหนื่อยรอบๆ บริเวณนี้ก่อน

ปลายทางรถราง
ปลายทางรถราง สุดทางเดินบันไดนาคมีสถานีรถรางที่มาสุดตรงนี้เหมือนกันรอบๆ จะมีระเบียงทางเดินให้ถ่ายรูปวิวกันได้ด้วย

วิวบนยอดเขา
วิวบนยอดเขา 

วิหารข้างหลวงพ่อชินประทานพร
วิหารข้างหลวงพ่อชินประทานพร เป็นสิ่งแรกๆ ที่เราเห็นและอยากจะมุ่งตรงไปก็คือพระชินประทานพร พระพุทธรูปปางประทานพรที่มีซุ้มคล้ายพระพุทธชินราช ซึ่งเป็นที่มาของพระนามพระชินประทานพร แต่ก่อนหน้านั้นมีวิหารซึ่งเป็นเสนาสนะที่สวยงามตั้งตระหง่านอยู่ตรงหน้า

หลวงพ่อชินประทานพร
หลวงพ่อชินประทานพร พระพุทธรูปที่เป็นจุดเด่นของวัดถ้ำเสือ คงไม่มีคนที่มาวัดถ้ำเสือแล้วไม่มาไหว้และถ่ายรูปพระพุทธรูปองค์นี้ นอกจากไม่มีกล้องหรือแบตเตอรี่หมด

เจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท
เจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท สิ่งถัดมาอยู่ไม่ไกลจากหลวงพ่อชินประทานพร เป็นจุดเด่นอย่างที่สองของวัดถ้ำเสือแห่งนี้ ลักษณะที่สวยงามแปลกตาและขนาดใหญ่สร้างอยู่บนยอดเขามองเห็นได้แต่ไกล อยู่เยื้องไปเบื้องหน้าขององค์หลวงพ่อชินประทานพร แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าจะหามุมเก็บภาพให้เห็นเต็มถึงส่วนยอดได้ก็ต้องเดินมาไกลหน่อย เจดีย์นี้รายล้อมด้วยอาคารต่างๆ อีกมากมายล้วนแล้วแต่สร้างอย่างงดงามกลมกลืนกันด้วยสีที่เลือกใช้

วัดถ้ำเสือ
วัดถ้ำเสือ เมื่อระยะที่มีอยู่มีจำกัดลองเอาเลนส์มุมกว้างออกมาใช้เพื่อเก็บภาพบริเวณหลวงพ่อชินประทานพรและเจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท ได้ภาพแปลกตาดีครับ

วิวสวยวัดถ้ำเสือ
วิวสวยวัดถ้ำเสือ ต่อจากนี้ไปก็เป็นการเดินสำรวจบริเวณรอบๆ ของวัดถ้ำเสือ เดินจากลานกว้างหน้าองค์หลวงพ่อชินประทานพรมาอีกหน่อยก็จะมีอาคารต่างๆ อีกอย่างเช่นที่เห็นอยู่นี้ก็มีความสวยงามโดดเด่น อยู่ริมระเบียงซึ่งมองเห็นวิวสวยๆ เบื้องล่างได้

ช่องประตูวิหาร
ช่องประตูวิหาร เป็นวิหารทรงจตุรมุขสวยงามมากหลังหนึ่ง หากไม่ได้เข้าไปภายในนมัสการพระพุทธรูปคงเสียดายแย่

ภายในวิหารวัดถ้ำเสือ
ภายในวิหารวัดถ้ำเสือ 

ภายในวิหารวัดถ้ำเสือ
ภายในวิหารวัดถ้ำเสือ ภาพมุมกว้างจากภายในวิหารทำให้เห็นลวดลายที่สวยงามรายล้อมที่ผนังภายในได้มากขึ้น

เจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท
เจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท ภาพเจดีย์จากอีกมุมหนึ่ง

ภาพวิวสวยจากเขาวัดถ้ำเสือ
ภาพวิวสวยจากเขาวัดถ้ำเสือ 

ภาพวิวสวยจากเขาวัดถ้ำเสือ
ภาพวิวสวยจากเขาวัดถ้ำเสือ สุดท้ายก่อนที่จะเดินกลับลงมาจากเขา

อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง


 อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
ทุ่งแสลงหลวง เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กม. สภาพพื้นที่เป็นทุ่งหญ้าโล่งใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ทางอุทยานฯ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอขาค้อ อำเภอหล่มสัก อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอวังทอง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ประมาณ 789,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 27พฤษภาคม 2518 ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขาคล้ายหลังเต่าสูง ๆ ต่ำ ๆ เป็นเทือกเขาหินปูนทอดเป็นแนวยาวมีจุดสูงสุดคือ บริเวณเขาแค เป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยเข็คใหญ่ และคลองวังทอง ฤดูฝนอยู่ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นมากเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ต้นสองใบ มะม่วงป่า ประดู่ และทุ่งหญ้าที่เป็นพื้นที่โล่งกว้างใหญ่มีสนและไม้ดอกขึ้นสลับกันอยู่
          บนเส้นทางจะตัดผ่านป่าเบญจพรรณ จะพบสัตว์ป่าออกมาหากินตามข้างทางเป็นประจำและพันธุ์ไม้ดอกมากมาย นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าแบบสวันนาสลับกับป่าสนสองใบอีก 2 แห่ง คือ ทุ่งหญ้าเมืองเลน และทุ่งโนนสนตามเส้นทางเดียวกับทางเข้า พื้นที่อุทยานมีลักษณะเป็นภูเขาคล้ายหลังเต่าสูงๆต่ำๆ ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาหินปูนทอดเป็นแนวยาวตามทิศเหนือ - ใต้ ตอนกลางประกอบด้วย เทือกเขาสูงหลายแห่ง มีจุดสูงสุดคือ บริเวณเขาแค สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,028 เมตร ทำให้บริเวณนี้ เป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่นห้วยเข็กใหญ่ ห้วยเข็กน้อย ลำน้ำทุ้ม คลองชมภู และคลองวังทอง เป็นต้น
         ในระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน เป็นช่วงที่อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 29 องศาเซลเซียส ฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,700 มิลลิเมตรต่อปี และในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็นมากเหมาะแก่การไปท่องเที่ยว

ทุ่งแสลงหลวงมีทางเข้าหลัก 2 ทาง คือทางเดินทางท่องเที่ยวใน อ.เขาค้อ สามารถเข้าทางที่ทำการอุทยานสาขาย่อย ตำบลหนองแม่นา ก่อนถึงทางเข้าแก่งบางระจันประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนทางเข้าอีกทางหนึ่งเป็นทางเข้าของที่ทำการอุทยานด้านถนนสาย พิษณุโลก-หล่มสักทางหลวงหมายเลข 12 หลักกิโลเมตรที่ 80
ที่ทำการอุทยานฯ ในส่วนตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นสาขาย่อยรองจากที่ทำการสำนักงานใหญ่ กิโลเมตรที่ 80
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่
สะพานแขวน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณสองข้างทางจะตัดผ่านป่าตลอดเส้นทาง มีความร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน
แก่งวังน้ำเย็น ห่าง จากที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 7 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเส้นทางเดียวกับทุ่งโนนสน ระหว่างเส้นทางเดินสภาพป่าจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากทุ่งหญ้าสู่ป่าเต็งรังสลับด้วยป่าสนและป่าเบญจพรรณ ส่วนบริเวณป่าดิบชื้นริมลำธารน้ำตกจะมีความหลากหลายของพืชพรรณไม้ใหญ่ที่ พื้นป่าก็มีพรรณไม้แปลกตาขึ้นอยู่มากมาย เช่น เฟิร์น และบอนต่าง ๆ
ทุ่งแสลงหลวง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา มีพื้นที่เป็นที่โล่งกว้างใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 16 ตารางกิโลเมตร ตามเส้นทางจะตัดผ่านป่าเบญจพรรณจะพบสัตว์ป่าออกมาหากินตามข้างทาง และมีพันธุ์ไม้ดอกมากมาย นอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าแบบสะวันนาสลับกับป่าสนสองใบ คือทุ่งหญ้าเมืองเลนและทุ่งโนนสน
ทุ่งนางพญา อยู่ทางทิศใต้ของที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นา ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา ล้อมรอบด้วยป่าสนเขาและป่าดิบเขา ตามกิ่งสนจะพบไม้ป่าที่หาชมได้ยาก คือ เอื้องชะนีและเอื้องคำปากไก่
ทุ่งโนนสนเป็นทุ่งหญ้าแบบสะวันนา สลับกับป่าสนเขา ตั้งอยู่ใจกลางอุทยานฯ บนยอดเขาโคกสน มีลักษณะคล้ายทุ่งแสลงหลวงและทุ่งนางพญา ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้หลายชนิดผลัดใบ เช่น ดอกดุสิตา เอื้องม้าวิ่ง กระดุมเงิน ยี่โถปีนัง หม้อข้าวหม้อแกงลิง ทุ่งนี้เหมาะแก่การเดินป่าซึ่งห่างจากที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 31 กิโลเมตร โดยจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปได้ในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี และมีเต็นท์ให้เช่าสำหรับนักท่องเที่ยว พักได้ 3-5 คน ราคา 400-500 บาท ในกรณีที่นำเต็นท์มาเองเสียค่าพื้นที่กางเต็นท์คนละ 30 บาท/คืน
นอกจากนั้นทางอุทยานฯ ได้จัด เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติทุ่งนา ผกค. ห่าง จากที่ทำการอุทยานฯ หนองแม่นาประมาณ 4 กิโลเมตร เมื่อเริ่มเดินเข้าสู่เส้นทางจะพบทุ่งนาประมาณ 30-40 ไร่ ที่ทางอุทยานฯ จำลองมาจากแปลงนาเดิมของ ผกค. โดยอาศัยน้ำจากลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลจากที่ราบสูงของภูเขาเป็นลำธารที่ ผกค. ได้สร้างขึ้นในอดีต บริเวณทุ่งนาจะมีดอกกระเจียวหลากสีบานทั่วท้องทุ่ง จากนั้นสามารถเดินทางศึกษาธรรมชาติได้ในวงรอบประมาณ 4 กิโลเมตร
อัตราค่าเข้าอุทยานฯ นักท่องเที่ยว ชาวไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
สถานที่พัก บริเวณหน่วยหนองแม่นา ทาง ไปพระตำหนักเขาค้อ อำเภอเขาค้อ มีบ้านพัก จำนวน 5 หลัง ราคา 2,000-2,400 บาท เต็นท์เช่า พักได้ 3-5 คน ราคา 250-400 บาท ในกรณีที่นำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นที่กางเต็นท์ ราคา 30บาท/คน/คืน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ตู้ ปณ. 64 อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65120 โทร. 0 5526 8019 หรือสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.30–18.00 น., วันเสาร์ เวลา 9.00–15.30 น. หรือ http://www.dnp.go.th
การเดินทาง สามารถใช้เส้นทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางแรก จาก จังหวัดเพชรบูรณ์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ไปทางอำเภอหล่มสัก ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงบ้านนางั่วแล้วเลี้ยวซ้าย ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2258 ขึ้นเขาค้อผ่านสี่แยกบ้านสะเดาะพงผ่านพระตำหนักเขาค้อ ตรงไปจนถึงบ้านทางตะวันเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตรจะถึงหน่วยจัดการอุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง ที่ 1 (หนองแม่นา)
เส้นที่สอง จาก จังหวัดพิษณุโลกใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ประมาณ 100 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เขาค้อผ่านหน้าอำเภอเขาค้อ ถึงสี่แยกบ้านสะเดาะพงแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2258 ผ่านพระตำหนักเขาค้อตรงไปบ้านทางตะวัน เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จะถึงหน่วยจัดการอุทยานฯ ทุ่งแสลงหลวง ที่ 1 (หนองแม่นา) 
ส่วนทางเข้าด้านถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 80 เป็นที่ทำการของอุทยาน มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว จำนวน 8 หลัง ราคา 1,000 - 2,400 บาท มีเต็นท์ให้เช่าพักได้ 3-5 คน ราคา 250-400 บาท ในกรณีนำเต็นท์มาเอง เสียค่าพื้นทีกางเต็นท์ ราคา 30 บาท/คน/คืน
นักท่องเที่ยวสามารถนำเต็นท์ไปกางนอนบริเวณแก่งน้ำในอุทยาน ซึ่งเหมาะกับการพักผ่อน เล่นน้ำ และแคมปิ้ง นอกจากนี้ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ภายในอุทยานให้ได้เที่ยวชม
ขอทราบรายละเอียดและ สำรองที่พักได้ที่งานบริการบ้านพัก ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ โทร. 02 579 5734,02 579 7223 หรือ โทร.02 561 4292-4 ต่อ 724,725 หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง






น้ำตกห้วยหลวง

น้ำตกห้วยหลวง

               เมื่อเข้าหน้าฝน  รอจนน้ำฝนเต็มอิ่ม ช่วงเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ดีที่สุดที่จะไปเที่ยวน้ำตกห้วยหลวงครับ น้ำตกห้วยหลวง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตกบักเตว อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี  มีพื้นที่คลอบคลุมถึง อ.น้ำยืนและ อ.บุณฑริกบางส่วน


               มีตำนานเล่าขานกันต่อๆ มาว่า “นายเตว” กับพวก 2 – 3 คนได้เข้ามาตีผึ้งที่ผาน้ำตกแห่งนี้ โดยออกอุบายนำเถาวัลย์มาพันเป็นเชือกหย่อนลงไปเบื้องล่างของน้ำตก นายเตวอาสาโรยตัวลงไปเพื่อตีผึ้ง ซึ่งมีรังผึ้งเกาะติดอยู่กับหน้าผาหลายร้อยรัง โดยมิได้บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ในระหว่างที่นายเตวกำลังตีผึ้งอยู่นั้นได้เกิดอาเพศขึ้น เพื่อนที่อยู่ด้านบนมองเห็นเถาวัลย์เป็นงูขนาดยักษ์เลื้อยพันขึ้นมา ด้วยความตกใจกลัวจึงใช้มีดตัดฟันลงไปตรงเถาวัลย์ขาดสะบั้นทำให้ร่างของนายเตวที่ห้อยโหนอยู่นั้นร่วงหล่นลงสู่เบื้องล่างของน้ำตกเสียชีวิต ยังผลให้น้ำตกแห่งนี้ได้ชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า “น้ำตกบักเตว
               ต่อมาได้มีการประกาศจัดตั้ง “อุทยานแห่งชาติภูจอง–นายอย” ขึ้นในปี 2530 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวน้ำตก และมักจะเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการลงเล่นบริเวณน้ำตกแห่งนี้ จนกระทั่งมีญาติของผู้เสียชีวิตมาเล่าว่า ผู้เสียชีวิตได้มาเข้าฝันแล้วบอกว่า นายเตวไม่ต้องการให้ใครมาเรียกชื่อน้ำตกแห่งนี้ว่า “น้ำตกบักเตว” เนื่องจากเป็นคำไม่สุภาพและได้ให้เปลี่ยนชื่อน้ำตกแห่งนี้เสียใหม่ ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2535 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อ “น้ำตกบักเตว” เป็น “น้ำตกห้วยหลวง” ตามชื่อของลำห้วยซึ่งไหลพาดผ่านน้ำตกแห่งนี้
               น้ำตกห้วยหลวง (น้ำตกบักเตว) ตั้งอยู่กลางป่าสมบูรณ์ไหลตกจากหน้าผาสูง 45 เมตร ถือได้ว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุด และงดงามที่สุดของภาคอีสานตอนล่าง  ไหลตกจากหน้าผาสูงชัน ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ และลานหินหาดทราย ด้านล่างมีบันไดทางลงจากศาลาชมทิวทัศน์สู่น้ำตกด้านล่าง นอกจากนี้ ยังมีน้ำตกอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกทลายแห่ง เช่น น้ำตกเกิ้งแม่ฟอง น้ำตกถ้ำบอน น้ำตกจุ๋มจิ๋ม น้ำตกห้วยทรายใหญ่ (แก่งอีเขียว) เป็นต้น

               เฉพาะเดือนกันยายน วันที่น้ำหลากมากๆ ห่างจากน้ำตกห้วยหลวงประมาณ 7 กม. บริเวณสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าอุบลราชธานี มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจ คือ กุ้งเดินขบวน สามารถชมได้ตั้งแต่ตอนเย็นจนค่ำครับ

               การเดินทางไปน้ำตกห้วยหลวง อุทยานแห่งชาติภูจองนา-ยอย เริ่มต้นจาก อ.เมืองอุบลราชธานี ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมูล ไปทางฝั่ง อ.วารินชำราบ ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 (วารินฯ - เดชอุดม) ผ่านมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ผ่าน อ.เดชอุดม ใช้ทางหลวงหมายเลข 2191, 2171 และหมายเลข 2248ตามลำดับ รวมระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง
ขอขอบคุณ :: http://guideubon.com/news/view.php?t=37&s_id=24&d_id=24