อุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมือง ตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า ตำบลกุดชุมแสง ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลบ้านเดื่อ ตำบลโนนกอก ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น ป่าหินงามจันทร์แดง ซุ้มประตูหินธรรมชาติ ผากล้วยไม้ น้ำตกตาดหินดาด น้ำตกตาดโตน ถ้ำพระ ผาเก้ง ผาแพ เป็นต้น และการเดินทางเข้าไปเที่ยวชมก็สะดวก มีเนื้อที่ประมาณ 148 ตารางกิโลเมตร หรือ 92,500 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำรวจเป็นเทือกเขาภูแลนคา ภูเขียว ภูคำน้อย พื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และที่ราบสูง ซึ่งจะมีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 200 ถึง 725 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะมียอดเขาที่มีความสูง 669 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมียอดภูแลนคา ซึ่งเป็นยอดที่มีความสูง สูงสุดของพื้นที่ โดยมีความสูงประมาณ 725 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ทางด้านทิศใต้จะเป็นพื้นที่ลาด ซึ่งจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 200 ถึง 500 เมตร และพื้นที่ทางด้านทิศเหนือจะเป็นพื้นที่ลาดชันมาก มีหน้าผาหุบเขาเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
จัดอยู่ในภูมิอากาศฝนเมืองร้อนมี 3 ฤดูคือ ฤดูร้อนเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ฤดูฝนเกิดขึ้นช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน และฤดูหนาวเกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ป่าที่พบประกอบด้วย ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ ตะแบก พลวง แดง ชิงชัน ไม้กระยา หว้า พะยอม กะบก ตะเคียน แส้น กล้วยไม้ พะอง พีพ่าย แก้วหวาย สมุนไพรชนิดต่างๆ และหญ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น
สัตว์ที่พบได้แก่ กระต่ายป่า ลิง หมูป่า กระจ้อน กระรอกบิน หนูหวาย พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และแมลงชนิดต่างๆ เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
บ่อน้ำสระแก้ว เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรียงกันสามบ่อ โดยมีต้นบัวเกิดขึ้นเองในบ่อ และมีตำนานเล่าสืบต่อกันว่า มีรูปรอยพระพุทธบาทปรากฏในบ่อน้ำสระบัว ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และพุทธสถาน ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่สำรวจเป็นเทือกเขาภูแลนคา ภูเขียว ภูคำน้อย พื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน และที่ราบสูง ซึ่งจะมีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 200 ถึง 725 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะมียอดเขาที่มีความสูง 669 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมียอดภูแลนคา ซึ่งเป็นยอดที่มีความสูง สูงสุดของพื้นที่ โดยมีความสูงประมาณ 725 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ทางด้านทิศใต้จะเป็นพื้นที่ลาด ซึ่งจะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 200 ถึง 500 เมตร และพื้นที่ทางด้านทิศเหนือจะเป็นพื้นที่ลาดชันมาก มีหน้าผาหุบเขาเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะภูมิอากาศ
จัดอยู่ในภูมิอากาศฝนเมืองร้อนมี 3 ฤดูคือ ฤดูร้อนเกิดขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ฤดูฝนเกิดขึ้นช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน และฤดูหนาวเกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ป่าที่พบประกอบด้วย ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ ตะแบก พลวง แดง ชิงชัน ไม้กระยา หว้า พะยอม กะบก ตะเคียน แส้น กล้วยไม้ พะอง พีพ่าย แก้วหวาย สมุนไพรชนิดต่างๆ และหญ้าชนิดต่างๆ เป็นต้น
สัตว์ที่พบได้แก่ กระต่ายป่า ลิง หมูป่า กระจ้อน กระรอกบิน หนูหวาย พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ ปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และแมลงชนิดต่างๆ เป็นต้น
แหล่งท่องเที่ยว
จุดยุทธศาสตร์ เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งกองกำลังทหารผสม ในอดีตเพื่อการขับไล่และต่อสู้กลุ่มก่อการร้าย โดยทั่วพื้นที่จะมีการตั้งฐานปฏิบัติการและกำหนดจุดพิกัดทางยุทธศาสตร์
ป่าหินงามจันทร์แดง มีรูปร่างลักษณะแปลกวิจิตรพิศดารต่างๆ จำนวนมาก โดยจะมีต้นจันทร์แดงเกิดขึ้นบนโขดหินก้อนใหญ่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ในเนื้อที่จำนวนมาก
ซุ้มประตูหินธรรมชาติ แตกต่างไปจากป่าหินงามจันทร์แดงโดยจะมีก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่งที่มีรูปลักษณ์เป็นซุ้มประตูหิน
จุดชมวิวลานหินร่องกล้า เป็นลานหินกว้างใหญ่และหินแตกเป็นร่องลึกจำนวนมากพร้อมกับเกิดขึ้นเป็นผาหินเด่นชัดสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 700-800 เมตร
จุดชมวิวป่าหินปราสาท มีก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายปราสาท เป็นลักษณะเด่นในพื้นที่ และเป็นจุดมองทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
ผากล้วยไม้ เป็นหน้าผาสูงและลดหลั่นตามลำดับ โดยทอดยาวติดต่อกัน เป็นหน้าผาหินที่มีพันธุ์กล้วยไม้หายากหลายชนิด เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดหน้าผา
ทุ่งดอกกระเจียวบริเวณป่าหินงามทุ่งโขลงช้าง เป็นพื้นที่ที่มีต้นกระเจียว ขึ้นเป็นจำนวนมากในป่าเต็งรัง และกระจัดกระจายทั่วพื้นที่ป่าหินงานทุ่งโขลงช้าง ซึ่งจะมีก้อนหินใหญ่คล้ายช้าง
เขาขาด เกิดจากการยุบตัว และยกตัวของเทือกเขาพังเหย กับเทือกเขาแลนคา เกิดเป็นช่องทางน้ำไหลของลำน้ำชีทำให้พื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นสถานที่ชมธรรมชาติ
ลำน้ำชี เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านริมแนวเขตพื้นที่สำรวจ เป็นลักษณะเด่นของลำน้ำกับเทือกเขา
ผาเก้ง เป็นหน้าผาสูงเด่น หน้าผาที่ก้อนหินใหญ่ยื่นออกไป และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์
ผาแพ เป็นผาหินขนาดใหญ่เกิดขึ้นจากการยกตัว และการไหลเลื่อนของชั้นหิน ทางด้านธรณีวิทยา ชั้นหินและแร่ที่ปรากฏมีลักษณะเด่น เป็นเนื้อสีแปลกและแตกต่างกันตลอด
ถ้ำพระ เกิดจากการยกตัวของชั้นหินทางธรณีวิทยา และการกัดเซาะของน้ำกับชั้น หินแร่ ถ้ำพระนี้ชาวบ้านท้องถิ่นได้เข้าไปขุดค้นวัตถุโบราณ เช่น พระพุทธรูป เศษวัตถุโบราณ และของมีค่าต่าง ๆ จึงเป็นตำนานถ้ำพระเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ถ้ำพระยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์อีกด้วย
จุดชมวิวเทพบูชา เป็นบริเวณที่ราบเล็กๆ ใกล้เคียงกับที่พักสงฆ์เทพบูชา จึงมีชื่อว่าจุดชมวิวเทพบูชาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700-800 เมตร เป็นจุดมองทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
ทุ่งดอกกระเจียว เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในบริเวณป่าเต็งรัง
น้ำตกตาดโตนน้อย เป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นจากลำห้วยน้อยใหญ่ไหลมารวมกันซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาภูเกษตร และเป็นน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปี
ขอขอบคุณ :: http://www.oceansmile.com/E/Chaiyaphum/pulanka.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น